วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เผยแพร่ผลงาน

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลการพัฒนาและการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น
ผู้รายงาน นางชลียา คงเงิน



การพัฒนาและการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น และเจตคติที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพ ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวนนักเรียน 42 คน ดำเนินการสุ่มอย่างง่าย(Simple random sampling)เพื่อใช้ในการทดลองครั้งที่ 1 กับนักเรียน จำนวน 3 คน เพื่อหาประสิทธิภาพข้างต้น ได้แก่รูปแบบ ภาษา เวลาที่ใช้ทดลองครั้งที่ 2 กับนักเรียน จำนวน 9 คน เพื่อหาประสิทธิภาพข้างต้น ของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ และทดลองครั้งที่ 3 กับผู้เรียน จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1 / E2
ประชาการที่ใช้ในการนำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ไปใช้จริงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 56 คน
เผยแพร่ให้กับครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ปราจีนบุรี จำนวน 5 คน เผยแพร่กับครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่น ๆ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการในครั้งนี้เป็นชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น จำนวน 10 ข้อ และแบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติ ของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สูตร E1 / E2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังโดยใช้ t – test for dependent samples วิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้สูตร E1 / E2 ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น และแบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยหาค่าเฉลี่ย( ) และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD.)

สรุปผลการพัฒนาและการใช้
1. ประสิทธิภาพของกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยเล่มที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.00/88.33 เล่มที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.33/82.00 เล่มที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.67/81.67 เล่มที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 81.00/82.00
เล่มที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.67/82.33 เล่มที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.33/82.00 เล่มที่ 7 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 81.00/81.67 เล่มที่ 8
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.00/80.67 เล่มที่ 9 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 81.00/82.00 เล่มที่ 10 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 81.00/81.67 เล่มที่ 11 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.67/82.33 และเล่มที่ 12 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80.33/81.00
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.10) โดยนักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) ตามลำดับ รองลงมาผู้เรียนพึงพอใจเกี่ยวกับ เป็นเรื่องน่าศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, 4.16 ) ตามลำดับอยู่ในระดับมากที่สุด
4. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ในภาพรวม อยู่ในระดับ ดี ( = 4.07) โดยนักเรียนมีเจตคติเกี่ยวกับเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากการเรียนวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดีที่สุด ( = 4.53) รองลงมาผู้เรียนมีเจตคติเกี่ยวกับ เรียนวิทยาศาสตร์ นำความรู้ที่ได้ไปทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน และทำให้เป็นคนรู้จักสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวมากขึ้น อยู่ในระดับดี ( = 4.48, 4.45) ตามลำดับ อยู่ในระดับดีที่สุด





















กิตติกรรมประกาศ

รายงานการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ การพัฒนาและการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น เล่มนี้สำเร็จได้ ด้วยการจุดประกายแนวคิด ให้องค์ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ และสนับสนุนจากนายไพฑูรย์ ศิริสนธิ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสั้น อาจารย์จินดาวรรณ เคนกุล ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนวัดโคกอุดม และนายอนุกูล ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวฝาย (กศ.ม.) วัดผลทางการศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เลย เขต 2 ซึ่งเป็นวิทยากรพี่เลี้ยง ที่ให้คำปรึกษาขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ขอขอบคุณ อาจารย์นางจำนง จุลกลับ อาจารย์ฐิติทร ทองสุข ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 อาจารย์จรรยา กล่าวสุนทร ครู วิทยฐานะชำนาญการโรงเรียนวัดประสาทรังสรรค์ เขต 1 ที่ตรวจสอบเครื่องมือจนแล้วเสร็จ และขอบใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้นทุกคนที่ได้สละเวลาทดลองใช้และตรวจสอบ ชุดฝึกและเกิดความสำเร็จลุล่วงด้วยดี


ชลียา คงเงิน
ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านโคกสั้น










คำนิยม

หลักสูตรกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง สืบเสาะหาความรู้ พัฒนาทุกแก้ปัญหา มุ่งให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจากการพิจารณาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร ซึ่งใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน วิชาภาษาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รหัสวิชา ว 31101 ที่อาจารย์ชลียา คงเงิน ได้จัดทำขึ้นนี้ มีเนื้อหาสาระเป็นไปตามแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ ลำดับขั้นของการนำเสนอ ในการใช้วิธีสอนสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยใบกิจกรรม ใบความรู้ ซึ่งในขณะเรียนมีการประเมิน ทั้งก่อนเรียน หลังเรียนในแต่ละเรื่อง มีความเหมาะสม ชัดเจน ถูกต้อง เนื้อหาสาระสมบูรณ์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ขั้นตอนและมีครูแนะนำขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนั้น จึงเชื่อว่าเอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ มีคุณค่ายิ่งต่อการเรียน การพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน รู้สึกชื่นชม ในความเพียรพยายาม ความมานะ อุตสาหะ ความตั้งใจจริง ซึ่งอาจารย์ชลียา คงเงิน ที่ทำกิจกรรมดังกล่าว จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง



(นายไพฑูรย์ ศิริสนธิ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสั้น

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สวัสดีคะ นักเรียนครู เปิดเทอมแล้วอย่าลืม ส่งงานเก่าด้วย

สำหรับนักเรียน ที่ติด 0 มี่คุณครูนัดให้ผู้ปกครองมาทำข้อตกลงลงชื่อรับทราบ ให้ช่วยคุณครูกวดขันการทำการบ้านส่ง หมดเขตมิถุนายน 51 นี้
ครูน้ำ

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551

20 กพ.51 รับแว่นตากับนักเรียน ถ้าโลกนี้ไม่มีสภากาชาดไทย คงมองอะไรไม่ชัดนะ




ขอขอบคุณที่ใขดีมอบแว่นตาให้ได้อ่านหนังสือ

นักเรียนห้องม.1 ให้ไปค้นงานจากเน็ตห้องสมุด

ถ้ามีโอกาสห้องอีเลินนิ่งก็ได้ ให้ไปค้นคว้า ภาพสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต คนละ5 ภาพพร้อมอธิบาย ลักษณะ ชื่อ รายละเอียดของสิ่งที่หามา print เป็นภาพสีทำรายงานถ้าเนื้อหามากอย่าลืมสารบัญ และทุคนห้ามซ้ำกัน บอกที่มาว่าจาก web ใดบ้างอ้างวันที่ด้วย ให้เพื่อนประเมิน ผู้ปกครองประเมินตามแบบที่ให้ คนละชุดนะคะ อย่าลืม 10 คะแนน

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ก่อนอื่นต้องถามตนเอง

ลักษณะการคิด ที่เราต้องฝึกให้แก่เด็กไทยยุคใหม่
1. กล้าคิด นักเรียนโดยมากครูสอนมาดีกระมัง หรือเป็นคนเรียบร้อย คือขี้อายไม่ค่อยกล้าคิดในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และไม่กล้ากล้านำเสนอ ครูควรให้โอกาสนักเรียนได้ฝึกบ่อยๆ ครูควรกำหนดคำถามหรือสถานการณ์ที่สนุกๆ มาให้นักเรียนได้ฝึกลองความคิด เช่นถามนักเรียนว่าเอ “ ถ้าคำตอบคือ แรด ลองตั้งคำถามมาสักคนละ5 คำถามซิ “ ว่ากันไป
2. คิดคล่อง คือความสามารถในการคิดให้ได้คำตอบมากๆ ในเวลาที่กำหนดให้เชิงปริมาณ เช่น
“จงบอกชื่อของสัตว์ที่ มี ปีกมาให้มากที่สุดในเวลา 1 นาที” คนที่ได้คำตอบมากที่สุดเป็นผู้ที่มีชนะแสดงว่าคิดคล่องมากที่สุด
3. คิดกว้าง คือสามารถในการคิด นอกกรอบ ไม่มองมุมเดียว พยายามคิดหาคำตอบแบบหลายทิศหลายทาง อาจเรียกการคิดแบบนี้ว่าการคิดยืดหยุ่นก็ได้ คำถามต้องมีลักษณะที่ท้าทายความสามารถของผู้ตอบ เช่น “นักเรียนคิดอย่างไรต่อคำกล่าวของครูที่ว่า ครูสอนมานาน แล้ว มองหน้า แล้วรู้เลยว่า อย่างเธอนี่ เกรด ต้อง 1.8 “

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

Manager Online - Cyberbiz